นางลูกคิด ตู้จินดา

นางลูกคิด  ตู้จินดา
ครูประจำชั้นอนุบาล 1 และ 2 โรงเรียนวัดวังพลับเหนือ อำเภอศรีประจันต์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวิจัยในชั้นเรียน


เรื่อง...การแก้ป้ญหาเด็กไม่รับประทานผัก
ระดับปฐมวัย โรงเรียนวัดวังพลับเหนือ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
โดย...คุณครูลูกคิด ตู้จินดา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ชื่อปัญหาการวิจัย . การไม่ชอบรับประทานผัก

"วัตถุประสงค์..."
1.เพื่อให้เด็กรับประทานผัก
2.เพื่อให้เด็กรับประทานอาหารหมดชาม
3.เพื่อให้รู้คุณค่าของอาหารผักต่างๆ

"ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา.."
- นักเรียนชั้นอนุบาล 1-2 โรงเรียนวัดวังพลับเหนือ ปีการศึกษา 2553 จำนวน 19 คน

"เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา.."
- เล่านิทานเรื่องแม่โพสพ หนูน้อยผักกาด
- ร้องเพลงฉันชอบผัก
- เล่นเกมผัก
- ท่องคำคล้องจอง ข้าว
- ผัดผักรวมมิตรร่วมกัน

"เครืองมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล..."
ตารางบันทึกผลการรับประทานแหรกลางวันของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-2โรงเรียนวัดวังพลับเหนือ

"สรุปผลการวิจัย..."
จากการบันทึกการรับประทานอาหารของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-2ปีการศึกษา 2553 ในสัปดาห๋ที่ 6
หลังจากใช้เครื่องมือต่างๆครบแล้ว เด้กๆมีพัฒนาการและเจตคติทีดีต่อการกินผักมากขึ้น และทานอาหาร
หมดจาน คณะครูและแม่ครัวก็ชื่นชมว่าเด็กๆทานผักได้ทุกคน เด็กๆอร่อยกับการรับประทานผักที่ช่วยกันผัด
จนหมดชามทุกคน
ครูได้สอบถามว่า ...อยู่บ้านเด็กๆรับประทานแหรจำพวกผักได้หรือไม่ และทานข้าวหมดชามทุกครั้งหรือปล่าว
ผู้ปกครองบอกว่า แต่ก่อนจะเขี่ยผักทิ้งแต่เดี๋ยวนี้เด็กชอบทานผัก และผู้ปกครองยังได้ขอบคุณที่คุณครูช่วยแก้ปัญหา
การไม่ทานผักของลูก ทำให้ดิฉันภูมิใจมากกับการที่สามารถแก้ปัญหาการไม่ชอบทานผักของเด็กที่อยู่ในความดูแลได้
จนประสบความสำเร็จ
ดิฉันจึงได้เสนอผลงานการวิจัยต่อผู้อำนวยการโรงเรียน และได้นำผลงานวิจัยและขั้นตอนต่างๆไปให้ครูต่างโรงเรียนที่
มีปัญหาเด็กไม่ทานผักได้นำไปแก้ปัญหา ก็ได้ผลเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ
กำลังบันทืกข้อมูล
ในขนะเด็กรับประทานอาหารกลางวันครูควรดูแลอย่างใกล้ชิด ควรกล่าวชมเชยทุกวันทุกครั้งที่ทานอาหารหมด และ
เมื่อเด็กทานผัก ควรแสดงความรักจากการสัมผัสบ้าง เช่น การสัมผัสรูปศรีษะบ้าง โอบกอดบ้าง หรือทางวาจาเช่น พูด
ว่า.."หนูเก่งมาก" "เยี่ยมมากๆ" การที่เด็กได้รับสัมผัสความรักจากครู เด็กจะเชื่อฟังและอบอุ่นจะทานข้าวอย่างมีความสุข...